0



เราจะไม่พูดถึงท่านซุนหวู่หรือซุนวู(แล้วแต่จะเรียก)นั้นย่อมจะขาดความสมบูรณ์ไป

 ท่านซุนหวู่ถือว่าเป็นบุคคลที่น่าทึ่งมาก ที่น่าทึ่งนี้ไม่เพียงแต่ว่าท่านเป็นเจ้าตำรับทางด้านตำราพิชัยสงครามที่ยิ่งใหญ่(the art of wars) แต่ท่านน่าจะเป็นคนๆเดียวที่เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้วท่านถูกรู้จักในนามของนักยุทธศาสตร์หรือ strategist ที่ให้คำปรึกษาทางด้านการศึกสงคราม(รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง) ที่มีนักยุทธศาสตร์ทางด้านการศึกสงครามได้นำเอาความคิดของท่านไปใช้ในการทำสงครามและก็มักจะประสบชัยชนะเสมอ

แต่สองพันปีให้หลังนอกจากท่านจะเป็นนักยุทธศาสตร์ทางด้านพิชัยสงครามแล้ว ท่านได้ถูกสถาบันการศึกษาชั้นสูงทางด้านการบริหารธุรกิจหรือสถาบันการศึกษาหลักสูตรMBA ทั้งหลายแต่งตั้งอาชีพใหม่ให้ท่านว่าท่านซุนหวู่เป็นกูรูทางด้านการจัดการการบริหารทางด้านธุรกิจไปอีกหนึ่งตำแหน่งคือสองพันปีให้หลัง ท่านซุนหวู่ได้กลายเป็นกูรูทางด้านการบริหารการจัดการหรือเป็นกูรูทางด้านการทำธุรกิจ การเล่นหุ้น ไฟแนนซ์ การทำ swap currency  การทำIPO(เอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์) เป็นการจัดหาเงินกู้(loan arranger)ฯลฯ

ถ้าท่านซูนหวู่รู้ว่าท่านได้กลายเป็นกูรูทางด้านการบริหารจัดการ ทางด้าน MBA ทางด้านFinance ทางด้านMerger&Acquitionไม่รู้ท่านจะคิดอย่างไรแต่โลกตะวันตกได้ให้ตำแหน่งใหม่แก่ท่านไปแล้วนอกเหนือจากการเป็นนักยุทธศาสตร์ทางด้านพิชัยสงครามผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

ท่านซุนหวู่ เชื่อว่าการสงครามนั้นเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เป็นเรื่องของการอยู่รอด และเป็นตัวชี้ชะตาวิถีของมนุษย์ต่อไปการสงครามที่ดีที่สุดนั้น คือการไม่ต้องทำเข้าทำสงคราม(the art of fighting without fighting) แต่การสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น คือเป็นการวางตำแหน่งตัวเราให้เหนือฝ่ายตรงข้าม โดยอาศัยภาคการเมือง ภาคจิตวิทยาเป็นปัจจัยหลักในการมีชัยเหนือคู่ต่อสู้

'Warhad already won in the temple before a battle get started'
ชัยชนะสำเร็จแล้วในโบสถ์วิหารก่อนที่ศึกสงครามจักเกิดขึ้นด้วยซ้ำ'
กล่าวคือสงครามคือการสร้างความชอบธรรมให้คนส่วนใหญ่เห็นว่าเราเป็นฝ่ายถูกเสียก่อนเพื่อเรียกให้มวลชนมาเข้ากับเราให้มากที่สุด เพราะฝ่ายตรงข้ามถูกมองว่าขาดความชอบธรรมที่ไม่สามารถชนะใจของมวลชนได้





ตัวอย่างอื่นๆต่อหลักคิดของซุนหวู่ในเรื่องการศึกสงครามเช่น
สงครามคือ
ภารกิจที่หนักอึ้งของรัฐ

มันเป็นสถานที่ ของความอยู่และความตาย

มันเป็นหนทาง

ต่อการอยู่รอดหรือการสูญพันธ์

มันเป็นสิ่งที่เราต้องครุ่นคิดให้หนัก

ชนชั้นปกครอง
จักไม่ยอมให้มีการเคลื่อนพลของตน

เพราะตนเองเกิดแรงบันดาลโทสะ

นายพล จะไม่ยอมเข้าสู่สงคราม

เพราะความเกลียดชัง


ความโกรธนั้น
สามารถถูกเปลี่ยนให้เป็น

ความยินดีได้

ความชัง

สามารถถูกเปลี่ยนให้เป็น

ความเบิกบานได้

แต่ชาติที่ถูกทำลายลงไป

ย่อมไม่สามารถจะกลับมาเป็นชาติได้อีก

คนตาย ย่อมไม่สามารถฟื้นคืนชีพได้

ดังนั้น ผู้ปกครองที่ชาญฉลาด
ต้องเป็นผู้ที่สุขุมลุ่มลึก
นายพลที่มีประสิทธิภาพ
จะต้องไม่ประมาท
นี่คือวิถีในการรักษาชาติบ้านเมือง
ให้อยู่อย่างสงบ
ด้วยกองทัพต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน

ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ไม่ใช่มาจากชัยชนะทุกครั้งในการทำศึก
แต่มาจากการชนะศัตรู
โดยไม่ต้องทำศึกสงครามเลย

ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการสงคราม
คือการชนะยุทธศาสตร์ของศัตรู
ต่อมาจึงเป็นการทำให้ศัตรูและสัมพันธมิตของเขาให้แตกกัน
แล้วต่อมา จึงเข้าโจมตีกองทัพของศัตรู...

นักยุทธศาสร์ที่ล้ำเลิศ

มีชัยชนะเหนือศัตรู

โดยไม่ต้องทำศึกเลย

การเข้าครอบครองเมือง
ทำได้โดยไม่ต้องทำการโอบล้อม

จัดการกับศัตรู

โดยไม่ต้องทำให้สงครามเกิดความยืดยื้อ



กองทัพแห่งชัยชนะ

คิดชนะแล้วเป็นอย่างแรก

แล้วจึงเข้าทำสงครามทีหลัง



กองทัพที่พบกับความพ่ายแพ้

คิดทำสงครามก่อน

แต่ไปหาชัยชนะทีหลัง



แสร้งทำเป็นไร้ประสิทธิภาพ

ในขณะที่จัดทัพไว้พร้อม

ทำตนว่าอยู่ใกล้

ทั้งที่อยู่ไกล

ทำตัวว่าอยู่ไกล

ทั้งที่อยู่ใกล้




The Tao of Deception: วิถีเต๋าแห่งการลวงพราง






The Tao of Deception: วิถีเต๋าแห่งการลวงพราง

หนังสือ The Tao of Deception หรือวิถีเต๋าแห่งการลวงพราง ถือว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจอีกเล่ม โดยที่หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงประวัติความเป็นมา ของยุทธศาสตร์ในการทำสงคราม โดยจะเห็นได้ว่า ผลพวงจากสงครามที่อาศัยยุทธศาสตร์ ยุทธวิถี และกลยุทธ์ต่างๆนั้น ทำให้ราชวงศ์แต่ละราชวงศ์ต้องล่มสลายลงไป และผลพวงจากการทำสงคราม ได้สร้างความแตกแยกของความเป็นชาติจีน นำพาให้ต่างชาติเข้ายึดครองจีน อย่างไรก็ตาม ตราบชั่วนานของประวัติศาสตร์จีนที่ผ่านมานั้น เราจะเห็นว่า การทำศึกสงครามของจีนนั้น มีความแตกต่างกับการทำศึกสงครามของชาติตะวันตกอย่างสิ้นเชิง โดยการทำศึกสงครามของจีน คือการทำศึกแบบ 'รุกเพื่อรับ' ไม่ใช่ 'รุกเพื่อชนะฝ่ายตรงข้ามอย่างสิ้นซาก' เพราะการรุกเพื่อรับ สามารถทำให้ฝ่ายรุกรักษาระยะห่างและรักษาพื้นที่ของตนเองได้ ในขณะที่ฝ่ายตรงข้าม เมื่อไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่าการถูกโต้กลับ ในที่สุดก็จะไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ ยิ่งเวลานานเข้า ผู้รุกรานก็ต้องเสียกำลังพล ทรัพยากร เสบียงอาหาร และท้ายสุดคือการเสียกำลังใจ

โดยหลักยุทธศาสตร์ของจีนนั้น จักใช้แนวคิดที่เรียกว่า ชิ (qi หรือ ch'i) ที่เป็นหลักคิดที่กล่าวไว้อย่างละเอียดโดยปราชญ์แห่งสงครามคือซุนวู ที่ใช้หลักสู้แบบไร้ร่องรอย ไม่สามารถกำหนดหน้าตาได้ ไม่มีรูปแบบชัดเจน เปลี่ยนแปลงได้ง่ายและมีความยืดหยุ่นสูง โดยยุทธวิธีในการทำศึกสงคราม จักไม่มีการใช้หลักตายตัว (unorthodox) และสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจว่า ได้อ่านเกมส์ของกลยุทธ์ได้อย่างชัดแจ้งแล้ว ก็ปรากฏว่า อีกฝ่ายก็มักจะทำให้ความเข้าใจดังกล่าว ต้องถูกทำลายลง หรือที่เรียกว่า การเข้าไปทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียจังหวะในการเคลื่อนไหวอย่างตลอดเวลา (broken rhythm)

ดั่งเช่นคำว่าเต๋า นั้น ก็เป็นสิ่งที่หานิยามอย่างชัดเจนไม่ได้ เพราะถ้าเต๋าเกิดมีนิยามที่ชัดเจนแล้ว สิ่งนั้นก็จะไม่เป็นเต๋าอีกต่อไป ยุทธวิธีของเต๋าที่ว่านี้ คือการสร้างกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการเสียจังหวะแก่ฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะยิ่งถ้าฝ่ายตรงข้ามมีกำลังพลที่มากกว่า การทำลายจังหวะต่อคู่ต่อสู้ (broken rhythm) ที่มีกำลังเหนือกว่า ก็สามารถที่จะสร้างชัยชนะเหนือคู่ต่อสู้ที่มีกำลังเหนือกว่าได้ ดั่งเช่นตอนหนึ่งในหนังสือเล่านี้ ในหน้า 385 ที่กล่าวไว้ในตอนหนึ่งของหนังสือว่า

‘…ถ้าเราเจอกองทัพของข้าศึกหรือของฝ่ายตรงข้ามที่มีกำลังมากกว่าเรา เราต้องส่งเสริมให้เขามีกองกำลังคนให้มากกว่านั้นเข้าไปอีก หรือทำให้พวกเขายิ่งดูแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ให้พวกเขามีพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น เพราะยิ่งฝ่ายตรงข้ามยิ่งแข็งแกร่งและมีพื้นที่ครอบครองมากเท่าใด ก็เป็นการง่ายมากขึ้นที่พวกเขาจะแตกสลายง่ายขึ้น อะไรก็ตามที่มากไปก็มักจะเจอกับความบกพร่องมากเท่านั้น จงใช้ความแข็งแกร่งของฝ่ายตรงข้ามเป็นตัวทำลายความแข็งแกร่งของเขาเสียเอง และเมื่อเขามีหลายฝ่ายรวมตัวกันอยู่ ก็จงยกยอฝ่ายหนึ่งอย่างเต็มที่ โดยทำให้ฝ่ายที่เคยรวมตัวกัน กลายเป็นฝ่ายที่เริ่มจะไม่ไว้ใจกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายเพราะฝ่ายตรงข้ามมีคนหลายกลุ่มหลายฝ่ายไปรวมตัวกันมากเกินไป ย่อมทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันได้ง่าย จงใช้ความลับให้มากเก็บกลยุทธ์ไว้อย่าให้ใครรู้ อย่าเปิดเผยแผนของเราให้คู่ต่อสู้รู้ว่าเราจะทำอะไรต่อไป และจงเสนอประโยชน์ที่พวกเขาบางกลุ่มจะได้รับมากกว่าบางกลุ่ม วิธีดังกล่าวจะนำมาซึ่งความขัดแย้งของพวกเขาเอง

หนังสือดังกล่าวยังพูดถึงการสร้างข่าวลือ โดยแม่ทัพเป็นผู้สร้างข่าวลือเพื่อทำให้แม่ทัพฝ่ายตรงข้ามถูกผู้บังคับบัญชามองด้วยความไม่ไว้ใจ หรือการส่งข่าวไปให้ฝ่ายตรงข้ามว่าพวกตนยอมแพ้แล้วเพื่อกันไม่ให้ศัตรูเข้าโจมตีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขา หรือการนำเอาสตรีเป็นจำนวนร้อย แล้วจับแต่งตัวเป็นแม่ทัพนายกองเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามได้เห็น ทำให้ฝ่ายตรงข้ามคิดว่ากองทัพสตรีนี้ จะต้องเป็นกองทัพชุดพิเศษที่มีความล้ำเลิศในด้านการรบที่ไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน ทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องกังวลพร้อมไปกับการเสียเวลาในการจัดแผนรบใหม่ เพราะไม่คุ้นเคยกับการเผชิญหน้ากับกองทัพสตรีที่มากมาย

หนังสือเล่มนี้ได้ปรากฏบนแผงหนังสือในปี ค.ศ. 2007 โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตำราพิชัยสงครามของจีนโดยซุนวู (The Art of War) คือนาย Ralph D. Sawyer และตัวเขาเองก็เป็นผู้แปลหนังสือ The Art of War จากภาษาจีนมาเป็นภาษาอังกฤษด้วย แนวคิดที่หนังสือเล่มนี้ได้เสนอมานั้น แม้ว่าเป็นแนวคิดที่มาจาประวัติศาสตร์ แต่ก็ยังคงทันสมัยอยู่เสมอ และกองทัพจีนในปัจจุบัน ก็ยังใช้แนวคิดทางด้านพิชัยสงครามตราบจนทุกวันนี้

แสดงความคิดเห็น

 
Top