ความเท่าเทียมที่ไม่สุขสบาย
เมืองไทยนี้ได้ผ่านวันเวลาที่ยาวนาน ผ่านเหตุการณ์ต่างๆนานา ผู้คนเกิดมาก็ตายจากไปไม่น้อย แต่ทำไมกันถึงไม่มีอะไรที่เรียกว่าความเปลี่ยนแปลงของความเป็นมนุษย์เลย เราอาจมักจะชินชากับสิ่งที่เป็นอยู่ แต่หากเรามองไปที่เนื้อหาของระบอบการปกครองของประเทศเราซักหน่อยหนึ่งซึ่งเรียกระบอบนี้ว่า"ประชาธิปไตย"เราก็จะเห็นว่าสิ่งที่เราทำอยู่เพียรอยู่นั้นหาใช่เนื้อหาแห่งประชาธิปไตยไม่ อาจใช่ในทางทฤษฎี อาจใช่ในตัวบทรัฐธรรมนูญ และอาจใช่ในความเข้าใจของผู้มีอำนาจ แต่ไม่ใช่แน่ๆในความเป็นจริง แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าไม่ใช่ แล้วเราจะรู้ยังไงว่าใช่แล้ว แล้วเราจะเชื่อได้หรือไม่ว่าสิ่งที่เขาบอกว่าใช่นั้นใช่จริงหรือไม่ สิ่งนั้นเสี้ยมสอนกันไม่ได้หรอกครับ เพียงแต่ว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีสติปัญญาทั้งสิ้น เพียงแต่ว่ามีมากมีน้อยต่างกันเท่านั้นเอง ดังดอกบัวสี่เหล่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้นั่นเอง อ้ะ!ออกมาร่ายยาวซะขนาดนี้ผมยังไม่ได้แนะนำตัวเองเลย ผมคือผู้เขียนบทความนี้เองครับ(จริงๆก็น่าจะรู้กันอยู่) ผมเองคือคนที่ต้องการพื้นที่ในการแสดงความคิดและทัศนคติเหมือนกับท่านอื่นๆที่พยายามแสดงออกอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ด้วยเหตุผลหลายประการผมจึงหาพื้นที่นี้ได้เพียงเท่านี้ ซึ่งความคิดของผมนั้นก็คงถูกจำกัดอยู่เพียงเท่านี้เท่านั้น สิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้(ขอใช่คำว่าเล่านะครับเพราะจะเป็นภาษาบ้านๆเข้าใจง่ายๆ)คือแนวคิดและทัศนคติที่มีต่อเมืองไทยในขณะ และผมก็ไม่มั่นใจว่าในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ดังนั้นผมจึงเขียนเรื่องนี้เอาไว้เพื่อนเตือนตัวเองว่าครั้งหนึ่งเราเคยคิดแบบนี้นะ เอาหล่ะว่ากันยาวเหยียดจะถึงเนื้อเรื่องที่แท้จริงที่ผมจะเล่าแล้วนะครับ ตั้งใจอ่านดีๆนะ ถึงจะไม่มีใครอ่านก็เถอะ
ความสำคัญโดยเนื้อแท้ของประชาธิปไตยมีผู้ตีความหลายอย่างที่ต่างกัน บ้างว่าคือ ประชาชนเป็นใหญ่ บ้างก็ว่าประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ บ้างก็ว่าทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่สำหรับผมที่ไม่ใช่นักวิชาการเกียรตินิยม ประชาธิปไตยสำหรับผมก็คือซุปเปอร์มาเก็ต นั่นคืออะไร คือสิ่งที่ทุกคนสามารถเลือกสรรค์สิ่งดีๆเข้าหาตัวเองได้ตามกำลังของตนเอง แต่ทุกคนต้องเคารพในกติกาของร้าหรือนั่นก็คือประเทศนั่นเอง คุณควรระลึกว่าสิ่งที่คุณทำวันนี้วันหน้าจะออกผลเป็นไร ถ้าเป็นในซุปเปอร์มาเก็ตนั่นก็คือเมื่อคุณเลือกซื้อสินค้าที่มีประโยชน์ต่อคุณแล้วคุณก็ต้องไปจ่ายตังค์อะไรทำนองนั้น แต่นี่ไม่ได้หมายถึงว่าประชาธิปไตยต้องใช้ด้วยเงินนะครับ อย่าสำคัญผิดไป เพียงแต่อยากจะบอกว่าเมื่อคุณเก็บเกี่ยวประโยชน์จากความเท่าเทียมกันไปคุณก็ต้องตอบแทนชดใช้ให้แก่ประเทศเสียบ้างมิใช่ว่ามือใครยาวสาวได้สาวเอา เพราะหากสาวกันมากๆประเทศเป็นจะไม่เหลืออะไรเลย
อีกประการหนึ่งการเป็นประชาธิปไตยเราต้องเท่าเทียมกันใช่มั้ยครับ ซึ่งผมก็คิดว่าใช่ วันนี้ผมเองก็ได้ดูรายการตอบโจทย์ที่ได้แขกรับเชิญอย่างคุณจุ้ย ศุบุญเลี้ยง มาซึ่งคุณจุ้ยก็ได้กล่าวว่า"ความยุติธรรมสำหรับบางคนอาจไม่ได้เท่ากัน" ซึ่งสำหรับผมผมก็คิดว่าอย่างนั้นเช่นกัน เพราะอะไรน่ะหรือ ก็เพราะว่าความต้องการของคนไม่เท่ากันไงครับ บางคนมักน้อยบางคนก็โลภมาก ความเป็นปัจเจกบุคคลเองก็ทำให้เกิดข้อแตกต่างของแต่ละคน ซึ่งจุดนี้ผมก็เห็นว่าถ้าเกิดเราไปขโมยเงินสองร้อยจากเศรษฐี กับสองร้อยจากแม่ค้า ความรู้สึกของเจ้าทุกข์ทั้งสองฝ่ายก็มีระดับที่ต่างกันแล้ว ดังนั้นจึงวัดกันไม่ได้ว่าความเป็นธรรมจะสุดหรือหยุดที่ตรงไหน แต่ที่เห็นแน่ๆสำหรับผมนะครับคือสิทธิหรือเสรีภาพสำหรับคนไทยยังไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะในเด็กไทยเองเลย ทั้งเรื่องทรงผมจรดไปยังปลายเท้า ทุกอย่างก็ถูกขีดไปโดยผู้มีอำนาจ บางคนก็โยงไปว่าเราต้องการที่จะล้างสมองประชาชน ถ้ามองไปขนาดนั้นผมก็ว่ายังไม่ใช่นะครับ เพียงแต่เรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่เข็มขัดสั้นเท่านั้นเอง เพราะมันเกิดจากพื้นฐานของความง่ายๆของคนไทยเองนั่นแหละครับ ไม่เกียวข้องกับผู้มีอำนาจเลย เพียงแต่เรื่องนี้ก็ได้กลายเป็นกลไกและของอ้างมาหักล้างความคิดกันในทางการเมืองของไทยในขณะนี้ ซึ่งในตัวผมก็เห็นว่าการบังคับไว้ทรงผมแบบนี้มันค่อนข้างจะไร้เหตุผลพอสมควร นั่นคือการตัดผมให้ได้ทรงผมแบบนี้มันเป็นเหมือนการสร้างความแตกต่างระหว่างเสรีกับเผด็จการ ซึ่งเมื่อโตขึ้นคุณจะเห็นได้ชัดเจนเอง และการที่บังคับนู่นี่นั่นที่มิใช่ความจำเป็นเลยของประเทศไทยเนี่ยมันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าห่วยแตกถึงที่สุด เพราะแทนที่คุณจะเอาเวลาไปปรับคุณภาพการศึกษา ปรับปรุงเนื้อหาสาระในแต่ละวิชา กลับเอามาหมกหมุ่นเพียงเรื่องทรงผม บอกได้ว่าไร้สาระจะหาไหน
เอาล่ะครับที่พูดพรำกันยาวนานนี่เป็นเพียงมุมมองในเรื่องความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันในความคิดของผมเท่านั้นเอง ผมมักคิดเสมอว่าการกินกับข้าวอย่างเดียวมันไม่อร่อยเท่ากินกับข้าวสองอย่าง ดังนั้นผมจึงอยากให้ความคิดของผมนี้เป็นความคิดที่อย่างหรือเป็นกับข้าวอีกหนึ่งอย่างของใครอีกหลายคน ที่จะได้ไม่ปักใจเชื่อง่ายๆว่าเรื่องไหนจะจริงเรื่องไหนจะเท็จ แต่ให้ใช้เพียงว่าเรื่องนั้นอาจมีส่วนจริงเป็นพอ เพราะถ้าไฟเกิดที่ไหน ก็ย่อมมี่เชื่อไฟอยู่ที่นั่นก่อนแล้ว
ลุงม้วน
แสดงความคิดเห็น